ในปัจจุบันวิชาชีพบัญชีมีความสำคัญมาก ไม่ว่ากิจการไหนก็ต้องมีนักบัญชี ซึ่งนักบัญชีมีหน้าที่รวบรวม บันทึก จำแนก และสรุปข้อมูล เพื่อที่จะให้ฝ่ายต่างๆในกิจการได้นำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงาน เช่น ฝ่ายบริหารนำข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินที่นักบัญชีได้จัดทำไปวิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ และในการบันทึกบัญชีมีหลักเกณฑ์การบันทึก 2 รูปแบบด้วยกัน คือเกณฑ์เงินสด และเกณฑ์คงค้าง เรามาดูกันเลยนะคะว่าทั้ง 2 เกณฑ์มีความแตกต่างยังไงกันบ้าง
เกณฑ์เงินสด Cash Basis (แคช เบ’ซิส) หมายถึง การบันทึกบัญชีเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินสดจริง โดยไม่ได้คำนึงถึงว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีไหน คือรายได้ตามเกณฑ์เงินสดนี้จะไม่รวมรายได้จากการขายเชื่อ หรือการให้บริการแล้วยังไม่ได้รับเงิน สำหรับค่าใช้จ่ายก็จะไม่รวมค่าใช้จ่ายจากการซื้อเชื่อ หรือการรับบริการที่ยังไม่ได้จ่ายชำระเงิน กิจการจะไม่มีการบันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่ายจนกว่าจะได้รับเงินหรือจ่ายเงินจริง
เกณฑ์คงค้าง Accrual Basis (อะครู’เอิล เบ’ซิส) หมายถึง การบันทึกบัญชีโดยคำนึงถึงรายได้ที่พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละรอบระยะบัญชีนั้นอย่างเหมาะสม รายได้ตามเกณฑ์คงค้างก็คือไม่ว่ากิจการจะได้รับเงินหรือยังไม่ได้รับเงิน ก็จะต้องบันทึกเป็นรายได้ของกิจการ สำหรับค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้างก็คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการมีการใช้สินค้าหรือบริการนั้นถึงแม้จะจ่ายเงินหรือยังไม่จ่ายเงินก็ตาม ก็จะต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ
ยกตัวอย่าง จ่ายค่าเช่าอาคารในวันที่ 1 พฤศจิกายน 24,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี
วิธีเกณฑ์เงินสด
จะบันทึกบัญชี ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 25×1
Dr.ค่าเช่า 24,000
Cr.เงินสด 24,000
วิธีเกณฑ์คงค้าง
จะบันทึกบัญชี ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 25×1
Dr.ค่าเช่า 24,000
Cr.เงินสด 24,000
ปรับปรุงบัญชีสิ้นงวด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25×1
Dr.ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า 20,000
Cr.ค่าเช่า 20,000
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าค่าเช่าของกิจการในปี 25×1 มีเพียงแค่ 2 เดือน แต่วิธีเกณฑ์เงินสดจะรับรู้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในปีที่จ่ายเลย ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายนั้นมากเกินจริง แต่วิธีเกณฑ์คงค้างจะรับรู้เฉพาะค่าใช้จ่ายในปีของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งวิธีเกณฑ์คงค้างจะแสดงข้อมูลที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานจริงมากกว่าเกณฑ์เงินสด
References : เกณฑ์เงินสด VS เกณฑ์คงค้าง. “เกณฑ์เงินสด VS เกณฑ์คงค้าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:coursewares.mju.ac.th. [23 มิ.ย. 2017].
References : เกณฑ์เงินสด VS เกณฑ์คงค้าง. “เกณฑ์เงินสด VS เกณฑ์คงค้าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:tax.bugnoms.com. [23 มิ.ย. 2017].
References : เกณฑ์เงินสด VS เกณฑ์คงค้าง. “เกณฑ์เงินสด VS เกณฑ์คงค้าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:tipings.com. [23 มิ.ย. 2017].
ภาพประกอบจาก : pixabay.com
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |